วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556

การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์

ความหมายของการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์
          การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์   คือ   การพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในวิทยาการของโลกตะวันตก   ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีการค้นคว้าแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับธรรมชาติโลกและจักรวาล   ทำให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เจริญรุ่งเรือง   เป็นผลให้ชาติตะวันตกพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในด้านต่าง   ๆ   อย่างรวดเร็ว
          ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์
          1. การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ   ทำให้มนุษย์เชื่อมั่นในความสามารถของตน มีอิสระทางความคิด หลุดพ้นจากอิทธิพลการครอบงำของคริสต์จักร   และมุ่งมั่นที่จะเอาชนะธรรมชาติเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต   และความเป็นอยู่ของตนให้ดีขึ้น
          2. การพัฒนาเทคโนโลยีในดินแดนเยอรมันตอนใต้   โดยเฉพาะการประดิษฐ์เครื่องพิมพ์แบบใช้วิธีเรียงตัวอักษรขอกูเตนเบิร์ก   ในปี   ค . ศ . 1448 ทำให้สามารถพิมพ์หนังสือเผยแพร่ความรู้ต่าง   ๆ   ได้อย่างกว้างขวาง
          3. การสำรวจทางทะเลและการติดต่อกับโลกตะวันออก   ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษ ที่ 16 เป็นต้นมาทำให้อารยธรรมความรู้ต่าง   ๆ   จากจีน   อินเดีย   อาหรับ   และเปอร์เชีย   เผยแพร่เข้ามาในสังคมตะวันตกมากขึ้น

          ความสำคัญของการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์
          1. ทำให้มนุษย์เชื่อมั่นในสติปัญญาและความสามารถของตน เชื่อมั่นในความมีเหตุผล และนำไปสู่การแสวงหาความรู้โดยไม่มีสิ้นสุด
          2. ก่อให้เกิดความรู้และความเจริญก้าวหน้าในวิทยาการด้านต่าง   ๆ   และทำให้วิทยาศาสตร์กลายเป็นศาสตร์ที่มีความสำคัญ   โดยเน้นศึกษาเรื่องราวของธรรมชาติ
          3. ทำให้เกิดการค้นคว้าทดลองและแสวงหาความรู้ด้านต่าง   ๆ   ซึ่งนำไปสู่การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่   ๆ   อย่างต่อเนื่อง   และเป็นพื้นฐานของการปฏิวัติอุตสาหกรรมในสมัยต่อมา
          4. ทำให้ชาวตะวันตกมีทัศนคติเป็นนักคิด   ชอบสังเกต   ชอบซักถาม   ชอบค้นคว้าทดลอง   เพื่อหาคำตอบ   และนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต

          การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ในยุคเริ่มต้น
          การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ในยุคเริ่มต้น   เป็นการค้นพบความรู้ทางดาราศาสตร์ ทำให้เกิดคำอธิบายเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง   ๆ   ซึ่งเป็นการท้าทายความเชื่อดั้งเดิมของคริสต์ศาสนา   สรุปได้ดังนี้
          1. การค้นพบทฤษฎีระบบสุริยะจักรวาลของนิโคลัส ( Nicholaus Copernicus ) ชาวโปแลนด์   ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 สาระสำคัญ   คือ   ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล   โดยมีโลกและดาวเคราะห์ดวงอื่น   ๆ   โคจรโดยรอบ ทฤษฎีของโคเปอร์นิคัสขัดแย้งกับหลักความเชื่อของคริสต์จักรอย่างมากที่เชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล   แม้จะถูกประณามอย่างรุนแรง   แต่ถือว่าความคิดของโคเปอร์นิคัสเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์   ทำให้ชาวตะวันตกให้ความสนในเรื่องราวลี้ลับของธรรมชาติ
          2. การประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ ( Telescope ) ของกาลิเลโอ ( Galileo Galilei ) ชาวอิตาลีในปี   ค . ศ . 1609 ทำให้ความรู้เรื่องระบบสุริยจักรวาลชัดเจนยิ่งขึ้น   เช่น   ได้เห็นจุดดับในดวงอาทิตย์ได้สังเกตการเคลื่อนไหวของดวงดาว   และได้เห็นพื้นขรุขระของดวงจันทร์   เป็นต้น
          3. การค้นพบทฤษฎีการโคจรของดาวเคราะห์   ของโจฮันเนส   เคปเลอร์ ( Johannes Kepler ) ชาวเยอรมัน   ในช่างต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 สรุปได้ว่า   เส้นทางโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์เป็นรูปไข่หรือรูปวงรี   มิใช่เป็นวงกลมตามทฤษฎีขอโคเปอร์นิคัส

          การเสนอวิธีสร้างความรู้แบบวิทยาศาสตร์
          ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีนักคณิตศาสตร์ 2 คน   ได้เสนอแนวความคิดเกี่ยวกับวิธีสร้างความรู้เพื่อการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์   สรุปได้ดังนี้
          1. เรอเนส์   เดส์การ์ตส์ ( Rene Descartes ) ชาวฝรั่งเศส   และเซอร์   ฟรานซิส   เบคอน ( Sir Francis Bacon ) ชาวอังกฤษ   ได้ร่วมกันเสนอหลักการใช้เหตุผล   วิธีการทางคณิตศาสตร์ และการค้นคว้าวิจัยมาใช้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและการแสวงหาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์
          2. ความคิดของเดส์การ์ตส์   เสนอว่าวิชาเรขาคณิตเป็นหลักความจริงสามารถนำไปใช้สืบค้นข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ได้   ซึ่งได้รับความเชื่อถือจากนักวิทยาศาสตร์ในสมัยต่อมาเป็นอย่างมาก
          3. ความคิดของเบคอน   เสนอแนวทางการค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์   โดยใช้  “ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ”  เป็นเครื่องมือศึกษา   ทำให้วิทยาศาสตร์ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง

          การจัดตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
          1. การเสนอทฤษฏีการศึกษาค้นคว้าด้วย  “ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ” ทำให้เกิดความตื่นตัวในหมู่ปัญญาชนของยุโรป   มีการจัดตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติขึ้นในประเทศต่าง   ๆ   หลายแห่ง   ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17เพื่อสนับสนุนงานวิจัย   การประดิษฐ์อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง   ๆ   และแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน   ทำให้วิทยาศาสตร์เจริญก้าวหน้าโดยลำดับ
          2. ความร่วมมือระหว่างนักวิทยาศาสตร์กับนักประดิษฐ์นำไปสู่การพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ต่าง   ๆ   มากมาย   ความรู้ทางวิทยาศาสตร์จึงเป็นรากฐานของความเจริญ ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านต่าง   ๆ   จึงมีผู้กล่าวว่ากรปฏิวัติวิทยาศาสตร์ในคริสต์ ศตวรรษที่ 17 เป็นยุคแห่งอัจฉริยะ ( The Age of Genius ) เพราะมีการค้นพบความรู้ทางวิทยาศาสตร์ใหม่   ๆ   เกิดขึ้นมากมาย

          การค้นพบกฎแห่งความโน้มถ่วงของนิวตัน
          1. การค้นพบความรู้หรือทฤษฎีใหม่ของ   เซอร์   ไอแซค   นิวตัน ( Sir Isaac Newton ) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ   ในตอนปลายคริสต์สตวรรษที่ 17 มี 2 ทฤษฏี   คือ   กฎแรงดึงดูดของจักรวาลและกฎแห่งความโน้มถ่วง
          2. ผลจากการค้นพบทฤษฏีทั้งสองดังกล่าว   ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถอธิบายได้ว่าเพราะเหตุใดโลกและดาวเคราะห์จึงหมุนรอบดวงอาทิตย์และดวงจันทร์จึงหมุนรอบโลกได้โดยไม่หลุดจากวงโคจร   และสาเหตุที่ทำให้วัตถุต่าง   ๆ   ตกจากที่สูงลงสู่พื้นดินโดยไม่หลุดลอยไปในอวกาศ
          3. ความรู้ที่พบกลายเป็นหลักของวิชากลศาสตร์   ทำให้นักวิทยาศาสตร์เข้าในเรื่องราวของเอกภพสะสาร   พลังงาน   เวลา   และการเคลื่อนตัวของวัตถุในท้องฟ้า   โดยใช้ความรู้และวิธีการทางคณิตศาสตร์ช่วยค้นหาคำตอบ

          ผลจากการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17
          1. การปฏิวัติวิทยาศาสตร์เป็นสาเหตุผลักดันให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ทำให้ประเทศต่าง   ๆ   ในยุโรปพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในด้านการผลิตจนกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก
          2. การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ทำให้เกิด  “ ยุคภูมิธรรม ”  หรือ  “ ยุคแห่งการรู้แจ้ง ”  ทำให้ชาวตะวันตกเชื่อมั่นในเหตุผล   ความสามารถ   และภูมิปัญญาของตนเชื่อมั่นว่าโลกจะก้าวหน้าพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง   มีความมั่นในว่าจะสามารถแสวงหาความรู้ต่อไปไม่มีวันสิ้นสุด   โดยอาศัยเหตุผลและสติปัญญาของตน

          นักวิทยาศาสตร์คนสำคัญ ในการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์
          ในคริสต์ศตวรรษที่ 16-18 มีการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์ครั้งใหญ่มีการค้นคว้าทดลองพิสูจน์ทฤษฎีต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์ ในยุคนี้มีนักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ ๆ ได้แก่
          นิโคลัส โคเพอร์นิคัส ( Nicholaus Copernicus ค.ศ. 1473-1543 ) เป็นนักวิทยาศาสตร์เชื้อสายโปแลนด์ ได้ให้ทฤษฎีเกี่ยวกับจักรวาลว่า ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ โลกไม่ใช่ศูนย์กลางของจักรวาล นับเป็นการปฏิวัติทางดาราศาสตร์ครั้งสำคัญ เพราะเป็นการอ้างทฤษฎีที่ค้านกับความเชื่อเดิมเมื่อ 1 , 500 ปีมาแล้ว ซึ่งเสนอโดย โทเลอมี 


          แอนเดรียส วีเซเลียส ( Andreas Vesalius ค.ศ. 1514-1563 ) นักกายวิภาคศาสตร์ผู้ศึกษาจากศพคนจริง ๆ และคัดค้านคำสอนของเกเลน ทำให้คำสั่งสอนของเกเลนซึ่งเชื่อกันมานานถึง 1 , 500 ปี ถูกล้มล้างไป การศึกษากายวิภาคของคนจากร่างกายของคนจึงทำให้การพัฒนาด้านการแพทย์เจริญก้าวหน้าเข้าสู่ยุคปัจจุบันมากขึ้น 


          กาลิเลโอ ( Galileo Galilei ค.ศ. 1564-1642 ) เป็นนักดาราศาสตร์ นักคณิตศาสตร์และนักฟิสิกส์ ชาวอิตาเลียน ผู้มีความคิดเห็นก้าวหน้าล้ำยุคมาก และไม่เห็นด้วยกับความเชื่อด้านวิทยาศาสตร์โบราณของอริสโตเติล โทเลอมี และเกเลน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ทั้งสามท่านนี้ได้มีอิทธิพลต่อการพัฒนาของวิทยาศาสตร์ด้านต่าง ๆ ยาวนานกว่าพันปีทั้งสิ้น ดังนั้น กาลิเลโอจึงประสบปัญหาในการเผยแพร่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์อย่างมาก เพราะขัดแย้งกับคำสอนทางศาสนาอีกด้วยเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่า บิดาแห่งการทดลองทางวิทยาศาสตร์เขาค้นพบของแรงดึงดูดของวัตถุของโลกในชั้นแรก และเป็นผู้ประดิษฐ์กล้องดูดาว ที่สามารถส่องดูการเคลื่อนไหวของดาวได้เป็นคนแรก 


          โยฮัน เคปเลอร์ ( Johannes Kcpler ค.ศ. 1571-1630 ) เป็นคนแรกที่วางรากฐานเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของจักรวาล และอธิบายวิถีการโคจรของดาวเคราะห์ทั้ง 9 ดวง ปัจจุบันยังใช้กันอยู่เรียกว่ากฎของเคปเลอร์ เขาสรุปว่า ดวงดาวต่าง ๆ โคจรเป็นวงรีไม่ใช่วงกลม


          โรเบิร์ต บอยล์ ( Robert Boyle ค.ศ. 1627-1692 ) บิดาแห่งวิชาเคมีและเป็นคนแรกที่ผลักดันให้เกิดวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ซึ่งมีการศึกษาทดลองประกอบกับการตั้งทฤษฎีโดยโจมตีแนวคิดของอริสโตเติลที่กล่าวว่าสสารประกอบด้วยธาตุ 4 ชนิด แต่บอยล์กลับกล่าวว่าสสารประกอบด้วยธาตุมากกว่านั้นมากมาย 


          จอห์น เรย์ ( John Ray ค.ศ. 1627-1705 ) เป็นผู้เริ่มงานด้านชีววิทยา จำแนกพืชพันธุ์ไม้ต่าง ๆ เป็นหมวดหมู่และตั้งชื่อไว้ด้วย เขาจำแนกพืชต่างๆ กว่า 1 , 86 , 000 ชนิด ไว้เป็นหมวดหมู่ จึงได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งวิชาพฤกษศาสตร์ 


          เอนตัน แวน เลเวนฮุก ( Anton Van Leuwenhoek ค.ศ. 1632-1723 ) ได้พบวิธีฝนเนส์ และได้สร้างกล้องจุลทรรศน์ นำไปส่องดูสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ แล้วสามารถได้รายละเอียดของสิ่งมีชีวิตเล็กๆ นั้นได้ ข้อมูลของเขาทำให้ความรู้เรื่องจุลชีวันกระจ่างขึ้นมาก กล้องจุลทรรศน์ของเขาสามารถขยายได้ถึง 270 เท่า จึงได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งโลกจุลชีวัน 


          เซอร์ ไอแซก นิวตัน ( Sir Isaac Newton ค.ศ. 1642-1727 ) พบกฎแห่งความโน้มถ่วงซึ่งเป็นกฎสากลอันดับแรก จึงได้รับสมญานามว่า บิดาของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ และเป็นผู้ศึกษาเรื่องแสง โดยเจาะช่องเล็ก ๆ ให้แสงส่องเข้าไปในห้องมืด เมื่อเอาแท่งแก้วปริซึมวางไว้ให้แสงแดดส่งผ่าน แสงสีขาวจะกระจายเป็น 7 สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด และแดง พร้อมกับอธิบายถึงสาเหตุของการเกิดรุ้งกินน้ำ และ สรุปแรงดึงดูดของโลก จากการสังเกตลูกแอปเปิ้ลตกลงพื้นดิน ไม่ลอยไปในอากาศ โดยเรียกกฎนี้ว่า
"กฎแรงดึงดูดระหว่างมวลของนิวตัน"